Table

Java Table

Subscribe Feed

12 สิงหาคม 2550

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MOVING AVERAGE (MA)


เนื่องจากใช้ได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ ได้อีกด้วย นอกจากนั้น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายวิธีหนึ่ง(MOVING AVERAGE) ยังสามารถให้สัญญาณที่ไม่คลุมเครือซึ่งต่างจากเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามารถคำนวณได้ใน 5 รูปแบบ คือ

1. SIMPLE MOVING AVERAGE

2. WEIGHTED MOVING AVERAGE

3. MODIFIED MOVING AVERAGE

4. EXPONENTIAL MOVING AVERAGE

5. HAMMING MOVING AVERAGE

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะรูปแบบที่นิยมนำไปใช้นะครับ คือ EXPONENTIAL MOVING AVERAGE (EMA) คราวนี้เรามาดูวิธีการเซ็ตค่าต่าง ๆ ของ EXPONENTIAL MOVING AVERAGE กัน ผมแนะนำว่าควรใส่ EXPONENTIAL MOVING AVERAGE ไป 2 เส้น เส้นหนึ่งเป็นเส้น Moving Average ระยะสั้น(ใช้ Period สั้น ๆ เช่น 10 หรือ 15) ส่วนอีกเส้นหนึ่งเป็น Moving Average ระยะยาวหรือปานกลาง (ใช้ Period ยาวกว่า เช่น 50 หรือ 75) ซึ่งจะใช้ระยะไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเล่นกับตลาดระยะสั้นหรือระยะยาว

วิธีการ Add เส้น MA สำหรับ Marketiva

  • สำหรับ MA ระยะสั้น
  1. คลิ๊กขวาที่หน้า Charting (หน้าที่แสดงกราฟ)
  2. เลือก Indicators>Moving Average
  3. เลือก Type เป็น Exponential
  4. ใส่ค่า Period เป็น 10 หรือ 15 หรือค่าอื่นแล้วแต่ว่าชอบเล่นสั้นหรือยาวนะครับ
  5. เลือกสีของเส้น EMA ใช้สีไหนก็ได้ครับที่เห็นชัด ๆ

  • สำหรับเส้น MA ระยะยาว
  1. ทำเหมือนขั้นตอนการ set ค่า EMA ระยะสั้น แต่ใส่ค่า Period เป็น 40 หรือ 50 หรือค่าอื่นแล้วว่าชอบเล่นสั้นหรือยาวนะครับ
  2. เลือกสีที่ตัดกับเส้น EMA ระยะสั้น จะได้เห็นความแตกต่างชัดเจนว่าเส้นไหนเป็นเส้นไหน


สัญญาณซื้อ สัญญาณขาย ดูง่าย ๆ ดังนี้

  • สัญญาณซื้อ : เส้นราคาตัดเส้น MA จากล่างขึ้นบน หรือ เส้น MA ระยะสั้นตัดเส้น MA ระยะยาวนานกว่า จากล่างขึ้นบน
  • สัญญาณขาย : เส้นราคาตัดเสิน MA จากบนลงล่าง หรือ เส้น MA ระยะสั้นตัดเส้น MA ระยะยาวนานกว่า จากบนลงล่าง

รูปที่ 1 แสดงสัญญาณซื้อ สัญญาณขาย โดยอาศัยทิศทางการตัดกันของเส้นราคาและเส้น MA



รูปที่ 2 แสดงสัญญาณซื้อ สัญญาณขาย EMA ระยะสั้น และ EMA ระยะยาว


สัญญาณซื้อ สัญญาณขาย ในกรณีอื่น ๆ

  1. ในแนวโน้มขึ้น เมื่อราคาขึ้นเร็ว และสูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ มาก อาจมีการปรับตัวลงในระยะสั้น จะถือเป็นสัญญาณขาย และหลังจากราคาได้ปรับตัวลงมาใกล้เส้นค่าเฉลี่ยฯ และเริ่มวกกลับขึ้นไป ให้ถือเป็นสัญญาณซื้อ

รูปที่ 3 แสดงสัญญาณซื้อ สัญญาณขาย เมื่อราคาเคลื่อนที่ขึ้นไปตัดเส้น MA อย่างรวดเร็ว


  1. ในแนวโน้มลง เมื่อราคาหุ้นลงเร็ว และต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ มากอาจมีการปรับตัวขึ้นในระยะสั้น จะถือเป็นสัญญาณซื้อและหลังจากราคาได้ปรับตัวขึ้นมาใกล้เส้นค่าเฉลี่ย ๆ และเริ่มวกกลับลงไปให้ถือเป็นสัญญาณขาย

รูปที่ 4 แสดงสัญญาณซื้อ สัญญาณขาย เมื่อราคาเคลื่อนที่ลงไปตัดเส้น MA อย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

ฟังเพลง กด Play นะครับ

 
Edit by: Kodjaman